iWater กับกลุ่มโรคออฟฟิศ ซินโดรม


คำว่า “ออฟฟิศ ซินโดรม” (Office Syndrome) เป็นศัพท์ใหม่และเป็นศัพท์ฮิตตลอดปี ที่ผ่านมา มีการกล่าวและอธิบายถึงที่มาที่ไปของศัพท์คำนี้ว่า เกิดขึ้นจากการทำงานใน ที่ทำงานที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่ ความจริงโรคนี้อุบัติขึ้นมานานแล้ว หากแต่มิได้มีการกล่าวถึง เนื่องจากเกิดขึ้นในวงจํากัด
จนกระทั่งถึงยุคแห่งการทำงานด้วยระบบไอที ผู้ปฏิบัติงานที่มีอาการของโรคดังกล่าวเกิด ความตื่นตัว และแพทย์ได้ให้ความรู้อย่างแพร่หลาย “ออฟฟิศซินโดรม” จึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้คน หันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
ปัจจุบันโลกของระบบไอที เข้ามามีบทบาทต่อการ ทำงานในทุกสถานที่ ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในสถานประกอบการ หรือสำนักงานต้องจดจ่อทุ่มเทสมาธิทั้งปวงอยู่กับจอคอมพิวเตอร์ ร่างกายทุกส่วนมักจะอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้าต่อระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นกระดูก และข้อต่อของร่างกายเป็นอย่างมาก อีกทั้งสายตาที่ต้อง เพ่งมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ รวมถึงการใช้สมองในการคิด และติดตามข้อมูลต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ย่อมมีผลต่อ ระบบสายตา ระบบประสาท สมอง ไขสันหลังและเส้น ประสาทฝอย ภาวะเครียดทางจิตใจและอารมณ์ต่างก็มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้
อาการผิดปกติที่พบบ่อยในกลุ่มโรคออฟฟิศ ซินโดรม (Office Syndrome) มีดังนี้
- อาการปวดเมื่อย
เมื่อยล้ากล้ามเนื้อต้นคอ กล้ามเนื้อหลังทั้งส่วนบนและส่วนล่าง บั้นเอวและก้นกบ ปวดบริเวณ สะบัก หัวไหล่ ต้นแขน ข้อศอก แขนส่วนล่าง รอบข้อมือ ฝ่ามือ อุ้งมือ รวมถึงนิ้วมือ ผู้ป่วยที่มีความ ผิดปกติบริเวณดังกล่าวจะมีอาการปวด เคล็ดขัดยอก บางครั้งมีอาการชาร่วมด้วย การเคลื่อนไหวของ ข้อต่อต่างๆ ไม่คล่องตัว ทำให้เกิดอาการขัดปวดนิ้วล็อก ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของหลังและบั้นเอวอาจ มีอาการปวดหลัง ตึงหลัง หลังแข็ง ปวดข้อเท้ารวมถึงปวดบริเวณส้นเท้า บางครั้งมีอาการชาร่วมด้วย จะยืนหรือเดินไม่คล่องตัว เคลื่อนไหวเชื่องช้าลง
- สายตาเปลี้ยล้า
การมองเห็นภาพพร่ามัวไม่ชัดเจน อาจเกิดจากความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อรอบๆ นัยน์ตา หรือมีความผิดปกติของสายตาก่อให้เกิด สายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รอบๆ เบ้าตา หากมีปัญหาในเรื่องของนัยน์ตาต้องพบจักษุแพทย์ เพื่อวินิจฉัยให้ถูกต้องว่าสาเหตุของ ความผิดปกติอยู่ที่ส่วนใดของนัยน์ตาจะได้แก้ไขถูกจุด
- ความเปลี้ยล้าของระบบประสาท
สมองและไขสันหลังอ่อนล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ สมองตื้อ สั่งการช้าลง ปวดศีรษะ ไมเกรน เวียนศีรษะ อาจรุนแรงถึงขั้นคลื่นไส้อาเจียน ภาวะเครียดทางจิตใจ นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย ผู้ป่วยบางรายที่สูบบุหรี่และดื่มเหล้าจัด เป็นประจำ จะส่งผลให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น
การแก้ไขที่เห็นผลชัดเจนคือการเปลี่ยนอิริยาบถบ้างในระหว่างทำงาน เช่น ดื่มนม ชา กาแฟ เข้าห้องน้ำล้างหน้าให้สดชื่นออกกำลังกายด้วยการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกายเบาๆ ช้าๆ สูดหาย ใจยาวๆ ลึกๆ ให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจะรู้สึกสดชื่นและลดอาการตึงเครียดทั้งกายและใจได้ การพักงานชั่วครู่ พูดคุยกับผู้ร่วมงานคุยโทรศัพท์กับคนรัก คนรู้ใจเพื่อนสนิท ล้วนแล้วแต่ทำให้อาการของ โรคออฟฟิศ ซินโดรมดีขึ้น
นอกจากนี้การได้ดื่มน้ำ iWater เป็นประจำจะช่วยป้องกัน แก้ไขและลดอาการของออฟฟิศ ซินโดรมได้เป็นอย่างมาก ด้วยคุณสมบัติของกลุ่มน้ำโมเลกุลเล็ก น้ำที่มีออกซิเจนเยอะ มีส่วนช่วย ให้เกิดการฟื้นฟูความเปลี้ยล้าของเซลล์เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อได้เป็นอย่างดี ช่วยขจัด สารพิษหรือสารอนุมูลอิสระที่ก่อตัวขึ้นและเป็นต้นเหตุของความปวดเมื่อยต่างๆ ได้ รวมถึงการมีแร่ ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกาย มีส่วนช่วยปรับความสมดุลของภาวะกรดด่างในร่างกายได้ลดความ ตึงเครียดของสายตา ระบบประสาท ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ ได้เป็นอย่างดี ดื่มน้ำ iWater เป็นประจำวันละ 6 - 8 แก้ว (1.5 - 2 ลิตร) ช่วยป้องกันและแก้ไขอาการ ออฟฟิศ ซินโดรมได้อย่างแน่นอน