อัมพาตใบหน้า กับน้ำไอวอเตอร์


ท่านเคยพบกับเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่?? จู่ๆมีคนทักว่า “เฮ้ย! เป็นอะไรว้า? ทำไมปากเบี้ยว” มีอาการ ”ตาหลับไม่ลง หนังตาหลับไม่สนิท” มีอาการ “ชาใบหน้าร่วมกับการดื่มน้ำ แล้วน้ำหกออกทางมุมปาก” “เป่าปากให้แก้มโป่งออก โป่งออกได้ด้านเดียว อีกด้านยังแฟบอยู่เหมือนเดิม” คำทักและอาการต่างๆเหล่านี้ เป็นอาการของผู้ป่วยเป็นอัมพาตใบหน้าด้านใดด้านหนึ่ง อาจเป็นด้านซ้ายหรือด้านขวาก็ได้
โครงสร้างใบหน้าที่สำคัญประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อใบหน้า เส้นประสานใบหน้า เส้นเลือดแดง อัมพาตใบหน้ามักมาจากความผิดปกติของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงและสั่งการของกล้ามเนื้อใบหน้า
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (เส้นสีส้มแดง)
รับรู้ความรู้สึกใบหน้า เช่น ร้อน เย็น เจ็บ
และสัมผัส ถ้าผิดปกติจะมีอาการชาใบหน้า

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (เส้นสีเหลือง)
เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้า
การแสดงอารมณ์ใบหน้า ถ้าผิดปกติจะมีอาการอัมพาต
ความผิดปกติของเส้นประสาทใบหน้าทั้ง เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (Tri –Germinal Nerve) และเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial Nerve) มักผิดปกติจากการติดเชื้อไวรัสหวัด หรือติดเชื้อแบคทีเรีย เริ่มต้นอาจมีการกระตุกของกล้ามเนื้อปลายหางตา หรือกล้ามเนื้อมุมปาก หรือกล้ามเนื้อแก้มข้างใดข้างหนึ่ง (อาจเป็นข้างซ้ายหรือข้างขวาก็ได้) ไม่พบบ่อยนักกับการกระตุกทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ หลังจากนั้นมีอาการชาใบหน้าด้านซ้าย หรือด้านขวา (ในกรณีที่เชื้อโรคติดเชื้อที่เส้นประสาทใบหน้าคู่ที่ 5 หรืออาจมีกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต มีมุมปากตก ยิงฟันไม่ขึ้น ตาหลับไม่ลง หลับได้ไม่สนิท มีน้ำตาไหลบ่อย ปากเบี้ยว ดื่มน้ำแล้วน้ำหกจากปาก ห่อปากไม่ได้ เป่าลมทำแก้มโป่งไม่ได้ ยักหน้า จมูกยกไม่ขึ้น เป็นต้น (ในกรณีที่เชื้อโรคติดเชื้อที่เส้นประสาทสมองใบหน้าคู่ที่ 7) ส่วนใหญ่มักพบความผิดปกติของเส้นประสาทสมองใบหน้าคู่ที่ 7 จึงเรียกโรคนี้ว่า Facial Palsy หรือ Bell’s Palsy (ตั้งชื่อตามชื่อของคุณหมอที่พบโรคนี้เป็นคนแรก) โรคนี้มักพบบ่อยในช่วงหน้าฝนและช่วงต้นของหน้าหนาว มักมากับเชื้อไวรัสหวัด และมีบ้างมากับเชื้อแบคทีเรียที่ก่อการอักเสบของโครงสร้างในช่องหูชั้นในหรือชั้นกลาง แล้วติดต่อมายังเส้นประสาทใบหน้าได้
การตรวจวินิจฉัยโรคไม่ยุ่งยากตรวจพบได้ง่าย แพทย์อาจให้ยาต้านเชื้อไวรัสหรือยาต้านเชื้อแบคทีเรียและยาบำรุงระบบประสาท เพื่อฟื้นตัวของโรคได้ ระยะเวลาการรักษาและการฟื้นตัว หากไม่รุนแรง 3 – 6 สัปดาห์ สามารถหายเป็นปกติได้ หากเป็นปานกลางใช้เวลาประมาณ 3 - 4 เดือน หากเป็นรุนแรงต้องใช้เวลายาวนานประมาณ 6 เดือน และอาการอัมพาตใบหน้าอาจไม่สามารถทำให้หายเป็นปกติได้ มักมีมุมปากตกบ้าง (ปากเบี้ยว) หนังตาตก หลับไม่สนิท
การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย
1) ติดตามการรักษากับแพทย์ให้ต่อเนื่อง พบแพทย์ตามนัด และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
2) เวลาออกนอกบ้านหรือนอกสถานที่ ควรมีแว่นตา (แว่นกันแดด) สวมใส่ไว้เพื่อกันฝุ่นละอองเข้าตา และป้องกันแสงแดดไม่ให้
ระคายเคืองตามากนัก
3) เวลาดื่มน้ำให้ดื่มช้าๆ ไม่รีบร้อน ป้องกันไม่ให้สำลักน้ำ และน้ำหกออกจากมุมปากน้อยลง
4) การดื่มน้ำไอวอเตอร์ (iWater) เป็นประจำช่วยให้การฟื้นตัวของโรครวดเร็วและชัดเจนขึ้น ควรดื่มให้ได้วันละ 8 แก้ว (2 ลิตร)
เป็นอย่างน้อย ทยอยดื่มทั้งวันและไม่อั้นปัสสาะ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ผ้าชุบน้ำไอวอเตอร์ (iWater) ประคบใบหน้าด้านที่ผิดปกติได้ช่วงละ 15 - 20 นาที หากมีเครื่องผลิตน้ำอาบไอวอเตอร์ วอช (iWater Wash) เปิดฝักบัวให้กระแสน้ำอาบที่ใบหน้าช่วงละ 3 - 5 นาที วันละ 2 – 3 เวลา ร่วมไปกับการนวดคลึงกล้ามเนื้อใบหน้าด้านที่ผิดปกติ โดยใช้นิ้ว 3 – 4 นิ้วลูบไล้ใบหน้าจากกลางใบหน้าไปสิ้นสุดที่ติ่งหู และคลึงใบหน้าจากกลางใบหน้าไปสิ้นสุดที่ติ่งหู จากนั้นใช้นิ้วกลางดึงที่หางตา เพื่อให้ตาหลับสนิท และยกมุมปากขึ้น เพื่อฟื้นมุมปากไม่ให้ตก การนวดคลึงนี้ทำ 5 – 10 นาที ทำได้บ่อยๆ เบาๆ และช้าๆ วันละหลายครั้ง
หากปฏิบัติตามนี้ได้ โรคอัมพาตใบหน้าจะฟื้นตัวเร็วและกลับสู่ปกติได้