“ม่านตาอักเสบ” ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอด

“ดวงตา” นับเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของร่างกาย เพราะทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจน และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข หากเกิดความผิดปกติขึ้นกับดวงตาก็จะส่งผลเสียอื่นๆตามมา ซึ่งโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตานั้นมีอยู่มากมาย แต่โรคหนึ่งที่คนยังไม่ค่อยรู้จักกันมากนักก็คือ “โรคม่านตาอักเสบ”
“โรคม่านตาอักเสบ” คือ การที่เนื้อเยื่อภายในลูกตาเกิดการอักเสบ โดยสามารถเกิดการอักเสบได้ทั้งส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลัง และอาจมีการอักเสบของจอประสาทตาร่วมด้วย
การอักเสบของม่านตาแบ่งออกเป็น 2 แบบ
1) การอักเสบแบบเฉียบพลัน คือ การอักเสบอย่างรวดเร็ว และเป็นอยู่ไม่เกิน 3 เดือน
2) การอักเสบแบบเรื้อรัง คือ การอักเสบแบบต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน หรือเป็นๆ หายๆ
สาเหตุของโรค
1) เกิดจากอุบัติเหตุบริเวณลูกตา รวมถึงการอักเสบที่เกิดหลังการผ่าตัด
2) เกิดจากการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยได้แก่ ซิฟิลิส เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อปรสิต และวัณโรค เป็นต้น
3) เกิดจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เช่น โรคภูมิต้านทานตนเอง หรือเรียกว่าโรคออโตอิมมูนต่างๆ (Autoimmune disease) โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) และโรคข้ออักเสบ เป็นต้น
4) ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
อาการของโรค
1) คนไข้มักพบแพทย์ด้วยอาการปวดตา ตาแดง ตามัว ตาสู้แสงไม่ได้ เห็นอะไรลอยไปลอยมา โดยจะเกิดขึ้นกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่งที่เกิดการอักเสบ หรือทั้งสองตา อาจจะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆได้
2) มีอาการตาแดงเล็กน้อยรอบๆตาดำ หรือตาแดงกระจายทั่วๆได้
3) ถ้ามีอาการอักเสบมาก อาจเห็นเป็นหนองในลูกตา หรือจอตาอักเสบ
หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอดจากโรคม่านตาอักเสบเองได้ หรือตาบอดจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น ต้อหิน หรือต้อกระจกได้
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะทำการซักประวัติคนไข้ เพื่อหาความเป็นไปได้ของสาเหตุการเป็นโรคม่านตาอักเสบ จากนั้นจะส่งตรวจเลือดและเอกซเรย์เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค ส่วนใหญ่จะมีการตรวจหาภาวะการอักเสบในร่างกายในกลุ่มโรคออโตอิมมูน เช่น ข้ออักเสบ SLE สะเก็ดเงิน หรือภาวะการติดเชื้อต่างๆ เช่น ซิฟิลิส วัณโรค ปรสิตจากสัตว์เลี้ยง รวมถึงตรวจหาโรคต่างๆ ที่อาจจะพบร่วมกับการเป็นม่านตาอักเสบได้ในกลุ่มโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การรักษา
การรักษาโรคม่านตาอักเสบ จำเป็นจะต้องรักษาโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุหรือเกิดร่วมกับการอักเสบของม่านตา กล่าวคือ แพทย์จะให้ยาเฉพาะที่เพื่อทำการรักษาตามสาเหตุ เช่น โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียจะให้ยาปฏิชีวนะ กรณีที่เกิดจากไวรัสจะให้ยาต้านไวรัส ส่วนการให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (Steroids) เพื่อลดการอักเสบภายในดวงตา ทั้งในรูปแบบของยาหยอด ยากินหรือยาฉีด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้อาจจะมีการให้ยาในกลุ่มเคมีบำบัด เพื่อเป็นการรักษาโรคอื่นๆควบคู่กันไปด้วย คนไข้ที่เป็นโรคนี้ควรติดตามรักษาอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นการรักษาดวงตาคู่นี้ไว้กับเราให้นานที่สุด
การป้องกัน
ควรสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ทุกวัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หากดวงตามีความผิดปกติควรรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที ที่สำคัญคือไม่ควรซื้อยามาหยอดตาเองเด็ดขาด โดยเฉพาะยาในกลุ่มสเตียรอยด์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดต้อหินตามมาได้ เมื่อใช้ยาเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน
นอกจากนี้ การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการของร่างกายก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ควรเลือกน้ำดื่มกลุ่มโมเลกุลเล็กจากเครื่องผลิตน้ำดื่มไอวอเตอร์ (iWater) ซึ่งได้รับมาตรฐานการกรองทั้งระบบจากองค์การอนามัยแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (NSF) การดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว (1.5 – 2 ลิตร) จะช่วยให้ร่างกายสดชื่น ทำให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ น้ำดื่มไอวอเตอร์คงไว้ซึ่งแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อต่างกาย จาปินขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งให้ทุกท่านมีสุขภาพดี มีดวงตาที่สดใส ปราศจากโรคภัยตลอดไปค่ะ