มะเร็งปอด


ก่อนหน้านี้ได้พูดถึงโรคอุดกลั้นในหลอดลมปอดเรื้อรังแล้ว ในตอนนี้จะพูดถึงความผิดปกติที่ก่อให้เกิดเป็นมะเร็งปอด ในปัจจุบันนี้พบว่า มะเร็งปอด เป็นโรคที่คร่าชีวิตของประชากรโลกทั้งชายและหญิงในอันดับต้นๆ เนื่องจากวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มลภาวะอากาศเป็นพิษรุนแรงมากขึ้น การสูบบุหรี่และดื่มสุรามากขึ้นเป็นเหตุให้ระบบภูมิต้านทานร่างกายลดน้อยลง ก่อให้เกิดมะเร็งปอดมากขึ้น มะเร็งปอดเป็น 1 ใน 5 โรคร้ายที่คร่าชีวิตประชากรโลกและชาวไทยเป็นอย่างมาก ปกติในเพศชายมักเสียชีวิตจากโรคมะเร็งใน 5 อันดับ ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งในช่องปากและคอหอย และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ส่วนในเพศหญิง มักเสียชีวิตจากโรคมะเร็งใน 5 อันดับ ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่
สาเหตุการเกิดมะเร็งปอด
การสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องและยาวนาน การรับควันบุหรี่หรือควันพิษจากมลภาวะในอากาศ เช่น ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันพิษจากการเผาต้นไม้ใบหญ้า ควันพิษจากฝุ่นละอองจากโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ สภาพแวดล้อมที่แออัดเกินไป การระบายอากาศไม่ดีพอ นอกจากนี้จากวัยอายุที่มากขึ้น การพักผ่อนน้อย นอนหลับไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารที่เร่งรีบได้คุณค่าทางอาหารที่ไม่เพียงพอ ภาวะความเครียดทางจิตใจ ความกังวลกับปัญหาต่างๆ ล้วนแล้วแต่กระทบกับอากาศที่หายใจเข้า – ออกในปอด ทำให้การรับออกซิเจนและการถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปอด ขาดความสมดุลย์และภาวะการติดเชื้อไวรัสหวัด เชื้อราในปอด เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคเหล่านี้มีส่วนเป็นสาเหตุก่อให้เกิดเป็นมะเร็งปอดได้

อาการของมะเร็งปอด
ในระยะเริ่มแรกผู้ป่วยมักจะไม่ปรากฎอาการ จากนั้นเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเหนียวออกสีเหลืองหรือสีน้ำตาลข้น บางครั้งมีเลือดปนออกมากับเสมหะด้วย และเริ่มมีอาการเหนื่อยเวลาไอและหลังการไอ น้ำหนักตัวลด หายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น เบื่ออาหาร นอนหลับไม่ดีพอ อาจมีไข้ตัวร้อนร่วมด้วย ไอรุนแรงจนเจ็บหน้าอกและลำตัว เสมหะมีเลือดปนมากขึ้น เมื่อไปพบแพทย์ จากการเอ็กซเรย์ (X-Ray) ปอด หรือการตรวจปอดด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าซีทีสแกน (CT Scan) รวมถึงการเจาะชิ้นเนื้อไปตรวจ มักพบว่าเป็นมะเร็งระยะกลางหรือระยะรุนแรงแล้ว
การรักษามะเร็งปอด
หากเป็นไปได้ การผ่าตัดเป็นวิธีที่ทำกัน ผ่าตัดเอาส่วนที่เป็นมะเร็งปอดออก หลังจากนั้นอาจต้องให้เคมีบำบัด หรือฉายแสงร่วมด้วย เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งปอดมิให้ลุกลามไปกระดูกอก หรือกระดูกส่วนอื่น รวมถึงระบบบต่อมน้ำเหลือง ตับ และสมอง เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยพบในระยะเริ่มแรกและรักษาถูกวิธีแต่ต้น โอกาสการฟื้นตัวและเป็นผลดีต่อร่างกายมีมากขึ้นด้วย
การดื่มน้ำไอวอเตอร์ (iWater)
การดื่มน้ำมีส่วนช่วยในด้านการป้องกันและเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายได้ น้ำไอวอเตอร์เป็นน้ำกลุ่มโมเลกุลเล็ก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง ช่วยในการต้านสารพิษหรือสารก่อมะเร็งได้ น้ำไอวอเตอร์มีปริมาณออกซิเจน (Oxygen) มาก เนื่องจากเซลล์มะเร็งโดยทั่วไปไม่ชอบออกซิเจนอยู่แล้ว ออกซิเจนในน้ำ หากดื่มในปริมาณที่เหมาะสมและต่อเนื่องจะมีผลช่วยให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง ร่วมกับภูมิต้านทานของร่างกายที่แข็งแรงขึ้น มีผลทำให้เซลล์มะเร็งลดขนาดลงได้ ก้อนมะเร็งเล็กลงหรือฝ่อลงได้ นากจากนี้ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา มีวินัยในการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ร่วมกับวิธีการรักษาของแพทย์ด้วย ผู้ป่วยมีโอกาสฟื้นตัวจากโรคมะเร็งปอด และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอาการของโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น
ดังนั้นการป้องกันมิให้เกิดโรคมะเร็งปอดเป็นวิธีที่ดีที่สุด ควรปฏิบัติดังนี้
1) งดสูบบุหรี่ เลี่ยงควันพิษทุกชนิด อยู่ในที่อากาศโปร่ง ถ่ายเทสะดวก
2) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อร่างกาย รวมถึงการพักผ่อนที่ดีและออกกำลังกายบ้าง ทำจิตใจให้แจ่มใส
3) ดื่มน้ำไอวอเตอร์ ให้ได้วันละ 6 – 8 แก้ว (1.5 - 2 ลิตร) อย่างต่อเนื่อง
ท่านจะห่างไกลโรคมะเร็งปอดครับ.!!